วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ลูกเสือ




เงื่อนพิรอด
เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่าย
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
        2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ
        3. ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า
        4. ผูกเชือกรองเท้า ผูกโบ


เงื่อนขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์ในการต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน หรือขนาดเท่ากัน โดยใช้เส้นใหญ่ทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์ 
         1. ใช้ต่อเชือกขนาดต่างกัน หรือขนาดเดียวกันก็ได้
         2. ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน (เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
         3. ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
         4. ใช้ผูกเชือกกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นขอหรือหูอยู่แล้ว เช่น ธงชาติ
         5. ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า

เงื่อนบ่วงสายธนู
เงื่อนบ่วงสายธนู เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่
 ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลัก
           เพราะสามารถหมุนรอบได้
        2. ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง
        3. ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู
        4. ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้
        5. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน

เงื่อนประมง เงื่อนประมงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน ซึ่งเป็นเงื่อนที่รู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน 
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
        2. ใช้ต่อเชือกเส้นด้ายเล็กๆเช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
        3. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว(คอขวดที่มีขอบขวด)
        4. ใช้ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดใหญ่ที่ลากจูง
        5. ใช้ต่อสายไฟฟ้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิชาเทคโนลยี บทที่2

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ 2.1 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้        ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ในแต่ละวันมีกา...