วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คณิตศาสตร์



ในคณิตศาสตร์ คู่อันดับ (a, b) เป็นคู่ของวัตถุทางคณิตศาสตร์ โดย a เรียกว่า สมาชิกตัวหน้า และ b เรียกว่า สมาชิกตัวหลัง คู่อันดับอาจจะมองเป็นพิกัดก็ได้ สำหรับคู่อันดับนั้น อันดับมีความสำคัญ นั่นคือคู่อันดับ (a, b) แตกต่างจากคู่อันดับ (b, a) ยกเว้นกรณีที่ a = b ลักษณะนี้ไม่เหมือนกับคู่ไม่อันดับ ซึ่งคู่ไม่อันดับ {a, b} ...

พละศึกษา

วิธีการเล่นปิงปอง


กีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้นั้น ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งพื้นที่บนฝั่งตรงข้ามมีเพียง พื้นที่ แค่ 4.5 ฟุต X 5 ฟุตเท่านั้น และลูกปิงปองยังมีความเบามาก เพียง 2.7 กรัม เท่านั้น และความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ยังใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาทีอีกต่างหาก แถมลูกปิงปองที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ยังมีความหมุนรอบตัวเองอีกด้วย ซึ่งลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเรานั้น เราจะต้องตีกลับไปอีกด้วย เพราะไม่ตี หรือ ตีไม่ได้ ก็หมายถึงการเสียคะแนนทันที



แต่ในความยากนั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับผู้เล่นเหมือนกัน เพราะ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายร่วมกันทั้งหมด ซึ่งส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ มี


1. สายตา
สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การจ้องลูกอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจะต้องจ้องมองและสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้อีกด้วยว่า ตีลูกความหมุนลักษณะใดมาหาเรา

2. สมอง
ปิงปอง เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นอีกด้วย

3. มือ
มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่วและว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

4. ข้อมือ
ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะมีความหมุนมากยิ่งขึ้น

5. แขน
ต้องมีพลกำลังและมีความอดทนในการฝึกซ้อมที่ต้องซ้อมแบบซ้ำและซ้ำอีก

6. ลำตัว 
การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ  ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

7. ต้นขา
แน่นอนว่าเมื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูง ต้นขาจึงต้องแข็งแรง และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

8. หัวเข่า
ต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ 

9. เท้า
ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปองตลอดเวลา หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ไม่มีฟุตเวิร์ด แล

แนะแนว

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง[1] โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน
สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย
คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") [2]
สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มี 3 รูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ภาษาไทย


ความเป็นมา
     วรรณคดีเรื่อง ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา เป็นการทำสงครามระหว่างพม่ากับมอญ เดิมต้นฉบับเป็นภาษามอญ แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องมีความสนุกน่าสนใจ ให้ข้อคิดมากมายจึงได้มีนักปราชญ์ชาวไทยแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ตั้งแต่ก่อนเสียกรุงเสียอยุธยาครั้งสุดท้าย ภายหลังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลและเรียบเรียงให้เรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์อีกครั้ง
ผู้เรียบเรียง
     เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
 ประวัติและผลงาน
     เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเคยรับราชการเป็นหลวงสร
วิชิต แล้วไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา และเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ผลงานที่สำคัญของท่านได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมห่เวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี) บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์ท่านถึงแก่ อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2348
 ลักษณะคำประพันธ์
    เป็นวรรณคดีร้อยแก้วแนวนิทานอิงประวัติศาสตร์

 จุดประสงค์ในการแต่ง
     รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์ที่จะใช้วรรณคดีเรื่องนี้ให้เกิดประโยชน์ และพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาท จะได้จดจำไว้เป็นคติบำรุงสติปัญญา
     
     เนื้อเรื่องย่อ
    พระเจ้ากรุงต้าฉิงแห่งประเทศจีน ยกทัพมาล้อมกรุงอังวะ ต้องการให้พระเจ้ามณเฑียรทอง ออกไปถวายบังคม และขอให้ส่งทหารออกมาขี่ม้ารำทวนต่อสู้กันตัวต่อตัวกับกามะนีทหารเอกของเมืองจีนถ้าฝ่ายกรุงรัตนบุระอังวะแพ้ต้องยกเมืองให้ฝ่ายจีน แต่ถ้าฝ่ายจีนแ้พ้จะยกทัพกลับทันทีพระเจ้ากรุงอังวะประกาศหาผู้ที่จะอาสาออกไปรบกับกามะนี ถ้าสามารถรบชนะกามะนีทหารเอกของเมืองจีน
จะโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราชและแบ่งสมบัติให้กึ่งหนึ่ง เมื่อสมิงพระรามทราบข่าว ก็คิดตึกตรองว่า หากจีนชนะศึกครั้งนี้ จีนคงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีของตนต่อไปแน่ ควรคิดป้องกันไว้ก่อนจึงอาสาออกรบ แม้แรกๆ จะเกรงว่าการอาสารบนี้จะเป็น "หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า"ก็ตาม โดยขอพระราชทานม้าฝีเม้าดีตัวหนึ่ง และได้เลือกม้าของหญิงม้าย สมิงพระรามนำม้าออกไปฝึกหัด ให้รู้จกทำนองรบรับจนคล่องแคล่วสันทัดดี พร้อมทั้งทูลขอ ขอเหล็กและตะกรวยผูกข้างม้าในระหว่างการรบ สมิงพระรามเห็นว่า กามะนีมีความชำนาญด้านการรบเพลงทวนมาก และยังสวมหุ้มเกราะไว้แน่นหนา สมิงพระรามจึงใช้อุบายว่าให้แต่ละฝ่ายแสดงท่ารำให้อีกฝ่ายรำตามก่อนที่จะต่อสู้กัน ทั้งนี้เพื่อจะคอยหาช่องทางที่จะแทงทวนให้ถูกตัวกามะนีได้ เมื่อได้หลอกล่อให้กามะนีรำตาม
ในท่าต่าง ๆ จึงได้ช่องใต้รักแร้กับบริเวณเกราะซ้อนท้ายหมวกที่เปิดออกได้ สมิงพระรามจึงหยุดรำให้ต่อสู่กันโดยทำทีว่าสู้ไม่ได้ ขับม้าหนีของกามะนีเหนื่อย เมื่อได้ทีก็สอดทวนแทงซอกใต้รักแร้ แล้วฟันย้อนกลีบเกราะตัดศีรษะของกามะนีขาด แล้วเอาขอเหล็กสับใส่ตะกรวยโดยไม่ให้ตกดิน นำมาถวายพระเจ้ามณเฑียรทองเมื่อฝ่ายจีนแพ้ พระเจ้ากรุงจีนก็สั่งให้ยกทัพกลับตามสัญญา พระเจ้ามณเฑียรทองพระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชและพระราชธิดา ให้เป็นบาทบริจาริกาแก่สมิงพระรามตามที่ได้รับสั่งไว้

วิทยาศาสตร์

image 
  1.   ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่เชื่อมโยงแยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ มีหน้าป้องกันไม่ให้แสงจากภายนอกรบกวน
  2.  แขน (Arm) คือส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลำกล้องกับฐาน เป็ยตำหน่งที่จับเวลายกกล้อง
  3.  แท่นวางวัตถุ (Speciment stsge) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
  4. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นหใม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
  5.  กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็น6.
  6.  กระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
  7.   เลนส์รวมแสง (condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
  8.  ไดอะแฟรม (diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
  9. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
  10. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
  11.  เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) จะติดอยู่กับจานหมุน (Revolving nose piece) ซึ่งจานหมุนนี้ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ ตามปกติเลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยาย 3-4 ระดับ คือ 4x 10x 40x 100x ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ความหมายของคำว่า   เทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน    หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
            เช่นเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการรวบรวมจัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
            ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด 
            ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปประยุกต์กันอย่างกว้างขวาง งานประยุกต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างระบบสารสนเทศแบบต่าง ๆ  มีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมไปใช้ในหน่วยงานหรือธุรกิจต่าง ๆ มุ่งไปที่การคิดค้นวิธีการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล การจัดระบบข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างรวดเร็วรวมถึงการจัดทำรายงาน ตลอดจนการจัดทำผลลัพธ์ของข้อมูลให้สามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทความสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
            เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี พ..2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสาร และนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยมากนัก  เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร และไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น สำนักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีเงินเดือนและบัญชีรายรับรายจ่าย การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกโดยใช้โทรศัพท์และโทรสาร การจัดเตรียมเอกสารด้วยการใช้เครื่องถ่ายเอกสารและคอมพิวเตอร์งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา  เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศ ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น 
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ” (Electronic Mail หรือ   E-Mail) 

ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ   หมายถึง  ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร เพี่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ เครือข่ายการสื่อสารและทรัพยากรด้านข้อมูล สำหรับจัดเก็บ รวบรวม ปรับเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ในองค์กร
ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
                      1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข 

ดนตรี

ดนตรี
คือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสานจังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรี

ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มี ลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Tone Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
1.5 “สีสันของเสียง” (Tone color ) หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น

ภาษาจีน

คำศัพท์พินอินคำอ่านความหมาย
制服zhìfúจื้อฝูเครื่องแบบ
男装nánzhāngหนานจวงชุดผู้ชาย
女装nǚzhuāngหนี่จวงชุดผู้หญิง
长袖衣chángxiùyī      ฉางซิ่วอี       เสื้อแขนยาว
短袖衣duǎnxiùyīต่วนซิ่วอีเสื้อแขนสั้น
短上衣duǎnshàngyīต่วนซ่างอีเสื้อแจ็กเก็ต
短裤duǎnkùต่วนคู่กางเกงขาสั้น
内裤nèikùเน่ยคู่กางเกงใน
牛仔裤niúzǎikùหนิวจ่ายคู่กางเกงยีนส์
裙子qúnziฉุนจื่อกระโปรง
裤子kùziคู่จื่อกางเกง
长裤               chángkùฉางคู่กางเกงขายาว
西服xīfúซีฝูสูท
背心bèixīnเป้ยซินเสื้อกล้าม
运动衫yùndòngshānยุ้นต้งซานเสื้อกีฬา
游泳衣yóuyǒngyīโหยวโหย่งอีชุดว่ายน้ำ
三角裤sānjiǎokùซานเจี่ยวคู่บิกีนี่
乳罩rǔzhàoหลู่จ้าวยกทรง
雨衣yǚyīหยี่อีเสื้อฝน
汗衫hànshānฮ่านซานเสื้อยืด
冬衣dōngyīตงอีเสื้อกันหนาว
衬衫chènshānเชิ่นซานเสื้อเชิร์ต

อังกฤษ


วิชาเทคโนลยี บทที่2

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ 2.1 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้        ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ในแต่ละวันมีกา...